ใช้เรื่องราวในการสอนพระคัมภีร์ต่อกลุ่มบุรุษ
กลุ่มที่เขาดูแลสอนพระคัมภีร์ซึ่งประกอบด้วยชายวัยทำงานสามคน :สถาปนิกหนึ่งคน ผู้จัดการภาษีหนึ่งคน และนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์อีกหนึ่งคน
ก่อนที่เขาจะใช้การเล่าเรื่องในการสอน วิธีการสอนเดิมของรูเบนเป็นวิธีที่คุ้นชินและใช้การอย่างทั่วไป คือการเลือกบทข้อพระคัมภีร์มาแล้วอธิบายความ และนำมาเชื่อมโยงกับชีวิต วิธีการนี้ใช้เวลาในการเตรียมตัวมากและยากสำหรับผู้เรียนในการตอบคำถามจากบทเรียนที่รูเบนได้ตั้งคำถามขึ้นมา
หลังจากนั้นรูเบนได้มีโอกาสไปร่วมรับใช้กับทีมมิชชันนารีระยะสั้น ในการไปครั้งนี้เขาได้เรียนรู้วิธีการสอนพระคำของพระเจ้าด้วยวิธีการเล่าเรื่องจากมิชชันนารีท่านหนึ่ง เขาจึงตัดสินใจลองนำวิธีการนี้มาใช้ในกลุ่มบุรุษที่เขานำในการศึกษาพระคัมภีร์ดู
ครั้งแรกเขาได้เล่าเรื่องการทรงสร้าง และจากนั้นสองอาทิตย์ก็เล่ามาเรื่อยๆจนถึงปฐมกาลบทที่ 3 การกบฏของมนุษย์ต่อพระเจ้า สิ่งที่เขาสังเกตได้คือ เขาพบว่ามันง่ายขึ้นสำหรับสมาชิกภายในกลุ่มในการพูดคุยถึงประเด็นในบทข้อพระคัมภีร์นั้นๆ และเขายังสังเกตได้ถึงการเปลียนแปลงของในทางที่ดีของตัวเอง “ ผมมีโฟกัสต่อบทสนทนาของพระเจ้าในเรื่องราวมากขึ้น และเข้าใจความหมายในถ้อยของพระองค์ได้ลึกซึ้งมากขึ้น วิธีการนี้ทำให้เรามองเรื่องราวในมุมมองที่เราไม่คิดมาก่อน และทำให้เกิดการถามคำถามที่น่าสนใจเกิดขึ้น ซึ่งทำให้เรายำเกรงและทึ่งในพระคำของพระเจ้ามากขึ้น ตัวอย่างเช่นในเรื่องการกบฏหรือการไม่เชื่อฟังคำสั่งที่พระเจ้าให้นั้น พวกเรารู้กันมาว่าอาดัมและเอวาได้กินผลไม้ไป แต่ไม่เคยคิดถึงความรู้สึกสิ่งที่เกิดขึ้นในใจ ในขณะที่เอวาสนทนากับงู ซึ่งพระคำของพระเจ้าได้อธิบายสิ่งนี้ไว้ ในเรื่องราวกล่าวไว้ว่า เอวาเห็นว่าผลไม้นั้นดี เหมาะเป็นอาหาร รูปทรงนั้นก็สวยงามน่าดู และทั้งน่าครอบครองมันไว้เพราะจะนำให้เกิดสติปัญญา วิธีการทำให้เรามีปฏิสัมพันธ์กับพระคำของพระเจ้ามากขึ้น และยังเป็นแรงผลักดันให้เรากลับไปอ่านเรื่องราวด้วยตัวเอง
เมื่อถามถึงส่วนที่ชอบในเรื่อง มีสมาชิกคนหนึ่งตอบว่าเขาประทับใจในช่วงเวลาที่พระเจ้าตามหาอาดัมและเอวา ส่วนอีกคนบอกส่วนที่เขาชอบในเรื่องคือตอนที่พระเจ้านำเขาทั้งสองออกจากสวนเนื่องจากการไม่เชื่อฟัง คำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสนทนาในกลุ่มมีดังนี้ ทำไมพระเจ้าถึงสร้างต้นไม้แห่งการรู้ดีรู้ชั่วขึ้นมา,ทำไมเรายังได้รับผลกระทบจากบาปของอาดัมและเอวาอยู่ ทั้งที่เราไม่ได้เป็นคนทำ, แล้วจะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากอาดัมปฏิเสธคำชวนของเอวาในการกินผลไม้ลูกนั้น นักเรียนคนหนึ่งอธิบายมาว่า เขาลองมองอาดัมและเอวาในมุมมองของเขาทั้งสอง ทั้งสามช่วงเวลาช่วงก่อน,ระหว่าง,และหลังการทำบาปของพวกเขา สิ่งที่เขาพบคือความรู้สึกความคิดที่ไม่เชื่อฟังคำสั่งของพระเจ้า,ความรู้สึกที่อยากจะเป็นเหมือนพระเจ้า,ความสุขความรู้สึกดีจากการได้ทำบาป และความรู้สึกละอายใจ ส่วนสิ่งที่นักเรียนอีกคนหนึ่งได้เรียนรู้คือ การที่พระเจ้าไม่หยุดที่จะเข้าหามนุษย์ แม้ว่ามนุษย์จะได้ทำบาปไป พระเจ้าเริ่มต้นหามนุษย์ก่อนด้วยการถามพวกเขาว่าอยู่ที่ใด แม้พระองค์จะรู้อยู่แล้วว่าพวกเขาไม่เชื่อฟัง และได้กบฏต่อพระองค์ ส่วนนักเรียนคนสุดท้ายได้เรียนรู้ว่า การรับผิดชอบและการไม่โยนความผิดของเราไปให้คนอื่นนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ อาดัมควรห้ามไม่ให้เอวากินผลไม้ หรือก็ควรปฏิเสธเอวาเมื่อเธอยื่นผลไม้นั้นมาให้
หลังจากเรื่องราวของโนอาห์ เราจะใช้เรื่องราวในการศึกษาพระคัมภีร์ในทุกๆสองอาทิตย์จากนี้ไป
ขอบคุณคุณ เอฟเอ็น ที่ได้ส่งเรื่องราวจากประเทศฟิลิปปินส์มาให้เราได้อ่านกัน