การนำบทสนทนาในเรื่องราวที่ได้เรียน
การนำบทสนทนาในเรื่องราวที่ได้เรียน:
- กลุ่มศึกษาพระคัมภีร์
- กลุ่มอนุชน
- กลุ่มผู้ยังไม่รับเชื่อ ตามสถานที่ต่างๆ เช่นร้านกาแฟ หรือสวนสาธารณะเป็นต้น
- พูดคุยกันตัวต่อตัว (ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมกับบริบท)
ผู้นำกลุ่ม/ผู้อำนวยความสะดวก: บทบาทของคุณ คือ การทำให้บทสนทนาในชั้นเรียนดำเนินต่อไปข้างหน้า อย่านำทุกอย่าง พยายามผันให้สมาชิกในกลุ่มอ่านและเป็นคนนำคำถาม
ระเบียบในการนำกลุ่ม: บอกสมาชิกว่า “เราจะทำการถามตอบ 6 คำถาม”
- เราจะใช้วิธีการ…(วิธีที่คุณเลือก) ในการเลือกว่าใครจะเป็นผู้อ่านคำถาม
- กฏคือทุกคนจะทำการตอบคำถามหนึ่งหรือสองประโยคต่อหนึ่งคำถาม
- สี่คำถามแรกจะตอบคำถามโดยไม่ซ้ำกับคนอื่น
- เมื่อมีคำถามที่คุณสามารถคิดคำตอบได้มากกว่าหนึ่งคำตอบ ให้คุณเลือกคำตอบที่คุณคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มมากที่สุด ซึ่งนี้เป็นจุดประสงค์ของเราในการหนุนใจและสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่น โดยที่ไม่พูดสิ่งที่เราสบายใจและสะดวกตัวเราเท่านั้น
วิธีในการเลือกคำถามทีจะถามกันในกลุ่ม (เลือกวิธีการใดก็ได้):
- พิมพ์คำถามลงในกระดาษ แล้วนำมาให้สมาชิกอ่าน แล้วพูดคุยกันถึงประเด็นนั้นๆ พอพูดคุยคำถามหนึ่งคำถามของคนหนึ่งเสร็จ ก็ให้ส่งกระดาษให้คนข้างๆอ่านคำถามต่อไปจนกว่าจะครบคนและครบทุกคำถาม ถ้ามีใครที่ยังช้าในการตอบ ให้ผู้อ่านคำถามทวนคำถามนั้นใหม่อย่างช้าๆ หรือถามความคิดเห็นของผู้อื่นว่าคิดเห็นอย่างไรกับคำถามข้อนี้ก่อน พยายามอย่าให้คนหนึ่งคนใดถูกกดดันหรือเป็นที่สนใจมากเกินไป เราพิมพ์แต่ละคำถามพร้อมกับเครื่องหมายสัญญาลงในกระดาษสีชิ้นเล็กๆขนาดเท่านามบัตร เวลาจะแจกบัตรคำถามให้คว่ำบัตรคำถาม แล้วแจกหนึ่งคนต่อหนึ่งใบ แล้วถามคำถามเรียงตามลำดับเลขที่ทำเครื่องหมายไว้ในบัตรคำถาม
- หาอาสาสมัครคนแรกในการอ่านคำถาม แล้วให้พวกเขาเลือกกันเองว่าจะให้ใครนำในการอ่านคำถามในข้อถัดไป
- ให้สมาชิกในกลุ่มเลือกตัวเลขของข้อคำถาม ในการเลือกคำถามในการพูดคุย แล้วให้พวกเขาอ่านคำถามและพูดคุยคำถามนั้น
- เลือกคนถามคำถามโดยการหมุนขวดน้ำ ถ้าขวกนำชี้ไปทางใครให้คนนั้นเป็นคนถามคำถาม หรือถ้าหากมีวิธีการอื่นๆที่ดีสร้างสรรค์กว่านี้ ก็ให้ลองใช้วิธีการนั้นๆไป
ใช้วิธีการที่สามและวิธีการที่สี่ เมื่อเราไม่ได้อยู่ในบริบทที่เชื่อเรื่องโชคลางของขลัง เพราะเราไม่อยากให้ผู้ร่วมการพูดคุยรู้สึกว่า พระที่เขานับถือนำให้เขาเลือกคำถามที่พวกเราทำการพูดคุย
- กรณีไม่มีกระดาษคำถาม – เราเป็นคนบอกคำถามโดยเวลาพูดอาจจะพูดให้ดังกว่าเดิม หลังจากนั้นให้สมาชิกนำการสนทนาต่อไป เมื่อเวลาผ่านไปสองถึงสามอาทิตย์ สมาชิกควรที่จะจำคำถามในการอภิปรายบทเรียนได้แล้ว
ผู้นำ/ผู้อำนวยความสะดวก: ถ้ามีสมาชิกในกลุ่มพูดสิ่งที่คลาดเคลื่อนกับเนื้อหาความเป็นจริง ให้ถามสมาชิกคนนั้นด้วยความใจเย็นว่า เขานำเอาสิ่งเหล่านั้นมาจากส่วนไหนของเรื่อง? แล้วถามสมาชิกคนอื่นว่าพวกเขามีความคิดเห็นอย่างไร?
คำถามในชั้นเรียนศึกษาพระคัมภีร์
ประโยคที่เป็นตัวหนังสือเอียง คือคำอธิบายคำถามเพิ่มเติม
- ในเรื่องที่ได้อ่านกันมา คุณประทับใจในสิ่งใดบ้าง? แล้วอธิบายเพิ่มเติมด้วยว่าเพราะอะไร?
คำถามนี้:
- ไม่มีคำตอบที่ผิด ดังนั้นคำถามนี้จึงลดความตึงเครียดให้กับสมาชิกในกลุ่มได้
- ทำให้การอภิปรายเป็นไปในด้านบวก แทนที่จะมองด้านลบของเรื่อง
- ทำให้สมาชิกรู้ถึงความรู้สึกของตัวเองต่อเรื่องราวที่ได้รับฟัง บ้างครั้งอาจมีสมาชิกบางคนที่บอกเราว่าเขาไม่ชอบอะไรในเรื่องนี้เลย ซึ่งสิ่งนี้ก็เป็นประโยชน์ เพราะข้อมูลนี้ทำให้เรารู้ว่าสมาชิกคนนั้นรับรู้อะไรจากเรื่องนี้
- เป็นการเปิดโอกาสในเราเรียนรู้ และค้นพบการทำงานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ว่าทรงสัมผัสจิตใจ และชีวิตส่วนตัวของสมาชิกในด้านที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวที่ได้อ่านมาอย่างไร
- มีใครมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่เราได้อ่านกันมาไหม ?
ตอนเริ่มต้นผู้เขียนวางคำถามนี้ไว้ให้เป็นคำถามที่ 4แต่คำถามนี้เหมาะที่จะมาถามในตอนต้นๆ ในลำดับที่ 2 มากกว่า ผู้เขียนได้เรียนรู้มาว่า ถ้าหากเรายังมีคำถามที่ค้างคาอยู่ในใจแล้วไม่ได้ถามออกไป เราจะไม่สามารถที่จะจดจ่อกับการพูดคุยหรือการอภิปรายต่อไปได้อย่างเต็มที่ ซึ่งก็เหมือนกับการที่เราพูดคุยถึงเรื่องราวของพระเจ้า เพื่อมาตกตะกอนก่อนที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตซึ่งก็ดูจะสอดคล้องเมื่อจะถามคำถามในข้อที่ 5 ต่อจากข้อนี้
เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ผู้เขียนได้เรียนรู้เมื่อไม่นานมานี้ ว่าแนวคิดที่ว่าสมาชิกทุกคนสามารถมถามคำถามหลายๆคำถาม โดยที่คุณไม่ยังต้องตอบคำถามก่อนเลยสักคำถาม! อาจจะฟังดูแปลก แต่ลองนำไปปฏิบัติใช้ในการสอน เมื่อเราตอบคำถามคนอื่น เราจะปิดกระบวนการเรียนรู้ของคนๆนั้น การไม่ตอบคำถามจะทำให้เขาเก็บเอาคำถามที่สำคัญนั้นไปคิด
คำถามในข้อสองนี้ยังช่วยให้สมาชิกในกลุ่มรู้ว่า ไม่ว่าจะเป็นคำถามแบบไหน มันต่างโอเคที่จะถาม ซึ่งอาจจะถามเกี่ยวกับเรือโนอาห์ ว่าถูกสร้างมาอย่างไง ? หรือคนในยุคก่อนโนอาห์เขากินอาหารมังสวิรัติอย่างเดียวหรือเปล่า? หรืออาจจะถามว่า การเดินไปกับพระเจ้ามีความหมายว่าอย่างไร ” เป็นต้น
- ทุกคนได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องราวของบุคคลในเรื่อง? ( หรือจะถามว่า ผู้คนในสถานการณ์นั้น เขามีทางเลือกอื่นอะไรไหม ? แล้วเราเรียนรู้อะไรจากการตัดสินใจเลือกใช้ชีวิตของพวกเขา? )
ถ้าในเรื่องมีคนหลายๆคน ให้จัดคนเป็นประเภทกลุ่มคน แล้วถามในลักษณะนี้ “เราได้เรียนรู้อะไรจากคณะฟาริสี กลุ่มคนที่มามุงดู และเรียนรู้อะไรจากเหล่าสาวก? ”
- เราได้เรียนรู้เรื่องราวของพระเจ้า/พระเยซูคริสต์อะไรจากเรื่องนี้ ?
ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับทั้งสองพระองค์ หรืออาจจะพูดถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์มาพร้อมๆกันด้วย เราสามารถถามแยกที่ละส่วน เช่น “เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเจ้าจากเรื่องนี้ เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเยซูจากเรื่องนี้ เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระวิญญาณบริสุทธิ์จากเรื่องนี้ ถามถึงผู้ที่ถูกเอ่ยในตรีเอกกานุภาพจากเรื่องที่ได้อ่านกันมา
- จากที่ได้เรียนมา คุณอยากจะนำสิ่งที่ได้เรียนมา ไปเปลี่ยนแปลงชีวิตอะไรในอาทิตย์นี้ ให้ทุกคนตอบตามประโยคนี้ “อาทิตย์นี้ฉันอยากจะ…”
เราพบว่าในคำตอบนี้จะช่วยเราให้ทำในสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น และทำให้เราตระหนักว่า ความจริงมีไว้ให้เรานำมาปฏิบัติใช้ในชีวิต (ไม่ได้มีไว้ให้พูดถึงเท่านั้น ) คำนี้และคำถามต่อไป ควรเป็นหนึ่งในคำอธิษฐานของเรา และเมื่อได้พบกับสมาชิกอีกครั้งในสัปดาห์ต่อไป ควรเริ่มต้นด้วยคำถามที่เป็นการทบทวนสิ่งที่ได้เรียนไป “ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา คุณได้นำสิ่งที่ได้เรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไรมาบ้าง อยู่ในกระบวนใดของการนำปรับมาประยุกต์ใช้แล้วบ้าง แล้วมีใครได้แบ่งปันเรื่องที่ได้เรียนให้ผู้อื่นฟังแล้วบ้างหรือยัง?” คำถามนี้ช่วยเราตรวจสอบผลจากการเรียนของสมาชิกในกลุ่มและถือว่าเป็นคำถามสำหรับการเริ่มต้นบทเรียนใหม่ที่ดี
- มีใครจำเป็นที่จะต้องได้ยินเรื่องราวนี้ไหม?
เราต้องการให้สมาชิกคุ้นชินและเข้าใจว่าเรื่องราวต่างๆที่เราได้เรียนรู้ ควรถูกส่งต่อให้ผู้อื่นได้ยินได้ฟังด้วย ไม่เพียงแต่มานั่งเรียนกันเท่านั้น ดังนั้นในสองคำถามสุดท้ายนี้ จึงสื่อถึงการที่ว่าการเชื่อฟังและส่งผ่านเรื่องราวของพระเจ้าให้กับผู้อื่นเป็นเรื่องธรรมชาติ
อธิษฐานด้วยกันเป็นคู่ๆ: ก่อนที่จะจบบทเรียนให้เราจับคู่อธิษฐาน และก่อนจะอธิษฐานด้วยกันให้ขอบคุณพระเจ้าและสรรเสริญพระเจ้าสำหรับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในบทเรียนวันนี้ สำหรับการอธิษฐานให้อธิษฐานเพื่อการจะนำสิ่งที่เรียนประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและอธิษฐานเพื่อสำหรับคนที่คุณอยากจะแชร์เรื่องราวนี้ให้ฟัง
ยังไม่จำเป็นที่จะให้สมาชิกที่ยังไม่เป็นคริสเตียนอธิษฐาน และเราก็ยังไม่แนะนำที่จะให้เขาทำ ผู้เขียนจะอธิษฐานขอการทรงนำจากพระเจ้า ว่าเวลาใดเป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะให้คนที่ยังไม่รับเชื่ออธิษฐานดี ซึ่งเมื่อถึงเวลา ก็จะให้เขาอธิษฐานในกรณีสถานการณ์ปกติทั่วไป โดยบ่อยครั้งสมาชิกจะเป็นคนบอกเราเมื่อพวกเขาพร้อมจะร่วมอธิษฐานด้วย เพราะเขาจะขอให้เราสอนเขาอธิษฐาน
สำหรับในอาทิตย์ต่อไป: ถามสองคำถามที่เป็นการตรวจสอบผู้เรียน แต่ละคนนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้อย่างไร ? แล้วคุณมีโอกาสได้เล่าเรื่องนี้ให้กับคนอื่นไหม?
ผู้เขียนเองก็มีโอกาสนำกลุ่มๆหนึ่ง ซึ่งก็เป็นบรรดาเหล่าผู้เชื่อ เมื่อไม่นานมานี้เอง ผู้เขียนก็ไม่ทำการสอนในบทเรียนบทต่อไปให้กับสมาชิกกลุ่มนี้ จนกว่าพวกเขาจะนำสิ่งที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้และได้แชร์เรื่องราวที่ได้เรียนรู้ให้กับผู้อื่น – คือ ผู้เขียนไม่อยากสอนคนที่คิดว่ามันไม่เป็นไร ที่เราจะไม่ปฏิบัติตาม! ดังนั้นผู้เขียนก็จะสอนบทเรียนนั้นซ้ำ(โดยปกติในรูปแบบที่ต่างออกไปเล็กน้อย) จนกว่าสมาชิกจะฟังและปฏิบัติตาม
ผู้เขียนไม่บีบบังคับให้คนที่ยังไม่เป็นคริสเตียนออกไปเล่าเรื่องที่พึ่งได้เรียนมา แต่เราทาบทามด้วยความสุภาพและหวังว่าจะมีใครสักคนหนึ่งที่เริ่มออกไปแชร์เรื่องราว และด้วยประสบการณ์และความตั้งใจของเขาจะเป็นแรงบันดาลใจให้สมาชิกคนที่เหลือในการทำส่ว่่นของเขาต่อไป
ผู้นำหรือผู้ดูแลกลุ่มบ้างคนจะไม่เริ่มเรียนในบทถัดไปเลยจนกว่าทุกๆคนจะได้แชร์เรื่องราวแรกที่ได้เรียนไปให้คนอื่นได้ฟังจริงๆ ถ้าสมาชิกไม่ปฏิบัติตามและคิดว่าการปฏิบัติตามและการแชร์เรื่องราวเป็นสิ่งที่จะทำก็ได้ไม่ได้ทำก็ได้แล้ว ทัศนะแบบนี้ไม่เป็นโยชน์กับการเรียนรู้เลย ซึ่งผู้แลกลุ่มนั้นก็จะใช้แรงกดดันจากเพื่อนๆในการทำให้เขาแบ่งบันเรื่องราวให้กับคนอื่น เพราะพวกเขารู้ว่าถ้าพวกเขาทุกคนไม่แชร์เรื่องราวที่ได้เรียน ก็จะไม่ได้เรียนในบทถัดๆไป สมาชิกคนนั้นก็จะมีความรู้สึกไม่อยากจะเป็นตัวถ่วงของกลุ่ม อย่างไรวิธีการนี้อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด ดังนั้นให้อธิษฐานขอสติปัญญาจากพระเจ้าในการหาวิธีนำกลุ่มที่เหมาะสมที่สุดกับสมาชิกของคุณ