ภาพรวมพระคัมภีร์จากแปด(เก้า)เรื่องราว
ในอดีตเรามีเรื่องเล่าสิบห้าเรื่อง แต่เราได้รับโจทย์ท้าทายให้เราลดเรื่องให้น้อยลงเหลือแปด ถ้าถามว่าเพราะอะไร?
ก็เพราะ
- สำหรับผู้ที่จะฝึกเล่าใหม่แล้วมันมีความเป็นไปได้มากกว่า คือผู้คนเชื่อมั่นได้ง่ายกว่าว่าพวกเขาจะสามารถเรียนรู้เรื่องราวจำนวนแปดเรื่องได้มากกว่าสิบห้าเรื่อง และการเล่าเรื่องจะสามารถทำซ้ำได้มากขึ้น
- แปดเรื่องสามารถเล่าแบ่งปันให้จบภายในการนั่งคุยกันครั้งเดียว(ผู้เขียนได้มีโอกาสทำบ่อยในครั้งที่ได้นั่งเครื่องบินและรถบัส)
- การเล่าเรื่องหนึ่งครั้งต่ออาทิตย์จะสามารถจบได้ภายในสองเดือน
ผู้เขียนจึงได้พูดคุยกันในทีม ว่าถ้าหากเราเลือกได้เพียงแปดเรื่อง จะเป็นเรื่องใดบ้าง? เราเลือกเรื่องแปดเรื่องดังนี้ ส่วนเหตุผลการเรื่องนั้นได้อธิบายไว้ด้านล่าง
พระคัมภีร์เดิม
- ปฐมกาล 3:1-15
- ปฐมกาล 16:2-10
- อพยพ 9:13-28
- อพยพ 12:29-33
พระคัมภีร์ใหม่
- มาระโก 2:1-12
- ยอห์น 11:32-44
- ลูกา 23: 32-47
- ลูกา 24:36-52
การเกริ่นนำ
แต่ละเรื่องต้องมีการเกริ่นนำ บทเกริ่นนำควรประกอบไปด้วย:
- สภาพบริบทของเหตุการณ์นั้น-ช่วงเวลาจริงของเหตุการณ์นั้น,สถานที่เหตุการณ์นั้นในปัจจุบัน,บุคคลจริงๆที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น ตัวอย่างเช่น- “อัมบราฮัมคือชายที่มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลา 400 ปีที่แล้ว เมืองที่เขาอาศัยอยู่คือ เมื่องบาบิโลน ซึ่งคือประเทศอีหร่านในปัจจุบัน
- อธิบายคำศัพท์เฉพาะเช่น ‘ฟาริสี’, ‘วันสะบาโต’, ‘ศาลาธรรม’
- เชื่อมโยงกับเรื่องก่อนหน้า ตัวอย่างในการเชื่อมเรื่อง “อาดัมมีลูกมีหลานและลูกหลานของเขาก็สืบเชื้อสายต่อกันมามากมายหลายรุ่น จนมาถึงช่วงเวลา เมื่อ 4000 ปีที่แล้ว มาถึงชายคนหนึ่งที่มีชื่อว่าอับราฮัม…”
- บางครั้งเราสามารถใช้คำถามในการดึงความสนใจของผู้ฟัง “คุณรู้ไหม ว่าทำไมโลกเราถึงมีความทุกข์ความเจ็บปวดมากมายขนาดนี้ ?”
พระคัมภีร์ใหม่
พวกเราเริ่มเลือกเรื่องจากพระคัมภีร์ใหม่ เพราะเรารู้ว่าเรื่องที่สำคัญสองเรื่องสุดท้ายอยู่ในพระสัญญาใหม่
- การถูกตรึงบนไม้กางเขน (ลูกา 23:32-47)
- การฟื้นขึ้นมาจากความตาย (ลูกา 24:36-51)
จากนั้นเราเลือกสองเรื่องจากหกตัวเลือก ( คริสต์มาส + ห้าเรื่องการอัศจรรย์)
สุดท้ายเราเลือก:
- มาระโก 2:1-12 (อำนาจในการรักษาและการอภัยบาป)
- ยอห์น 11: 32-44 (การฟื้นขึ้นจากความตายของลาซารัส: ผู้มีอำนาจเหนือความตาย ,บุคคนนี้คือผู้ใด?)
ล่าสุดนี้ บางครั้งเราก็ได้หยิบนำเรื่องวันคริสต์มาสมาเล่าเพิ่มอีกด้วย เรื่องวันคริสต์มาสมีอยู่สามทีในพระคัมภีร์ สุดท้ายเราตัดสินใจเลือกจากลูกา 2:6-18 มาเล่า
พระคัมภีร์เดิม
การเลือกเรื่องสี่เรื่องจากพระคัมภีร์เดิม สำหรับเราแล้วเป็นสิ่งที่ยากกว่าการเลือกในพระคัมภีร์ใหม่ สุดท้ายเราได้:
- การกบฎต่อพระเจ้า (ปฐมกาล 3:1-15) เราสามารถใช้เรื่องการทรงสร้างเป็นบทเกริ่นนำของเรื่อง
- อับราฮัมและฮาการ์ (ปฐมกาล 16:2-10, ใช้เรื่องการอวยพรจากปฐมกาล 12:1-7เป็นบทเกริ่นนำ) บางทีอาจจะไม่ง่ายที่จะเข้าใจว่าทำไมเราถึงเลือกสถานการณ์นี้ แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เหมือนว่าคนส่วนมากจะสามารถเข้าถึงได้ เพราะเรื่องราวในนั้นคล้ายกับละครโทรทัศน์ และเราสังเกตได้ว่าผู้คนให้ความสนใจมากขึ้นหลังจากได้ฟังเรื่องนี้ เนื้อความในนี้ก็มีความสำคัญด้วยเช่นกัน เพราะแสดงถึงการที่อับราฮัมซาราห์พยายามที่จะไขว่คว้าพระพรด้วยวิธีทางของเขาเอง โดยไม่รอวันเวลาของพระเจ้า
และการสร้างความเชื่องโยงจากเรื่องนี้ไปเรื่องอื่นต่อก็ทำได้ง่าย “เรื่องนี้มีหลายตอนมากนะค่ะ นี้เป็นสมุดเล่มเล็กที่เขียนถึงเรื่องราวส่วนที่เหลือของอับราฮัมค่ะ” (หรือสามารถใช้ที่กั้นหนังสือกั้นข้อพระคัมภีร์ส่วนนั้นให้เขาในปฐมกาล 12-24 หรืออาจจะถ่ายเอกสารในบทๆนั้นให้เขาอ่านต่อก็ได้ค่ะ)
สองเหตุผลที่เราไม่นำการถวายอิสอัคเป็นเครื่องเผาบูชามาเล่า (ปฐมกาล 22:1-19) เพราะถ้าจะเล่าเรื่องนี้ จะต้องมีบทเกริ่นนำที่ค่อนข้างยาว การเล่าเรื่องนี้มาโดดๆโดยที่ไม่อธิบายที่มาที่ไป จากเรื่องจะทำให้อับราฮัมดูเป็นคนชอบธรรมทางความเชื่อแบบไม่มีที่ติเกินจริง ซึ่งในความเป็นจริงเขาก็เป็นคนธรรมดาเหมือนเราที่เคยทำสิ่งผิดพลาดในชีวิต ซึ่งมีสามความผิดพลาดใหญ่ๆที่เราเห็นได้จากอับราฮัม ( ปฐมกาล 12+16 + และยังคลางแคงใจว่าซาราห์จะสามารถมีบุตรได้และหัวเราะเยาะกับความคิดนั้น ปฐมกาล 17:17) และเหตุผลที่สอง คือเคยมีคนท้องถิ่นไตหวันสองคน (ผู้เขียนเป็นมิชชันนารีอาศัยอยู่ที่ประเทศไตหวัน) เมื่อเขาได้ฟังเรื่องราวนี้แล้ว พวกเขารู้สึกสะเทือนใจ (รู้สึกว่าพระเจ้าแบบไหนกันที่เรียกร้องให้อับราฮัมเอาลูกชายของตนมาถวายเป็นเครื่องเผาบูชา) จากนั้นพวกเขาจึงหยุดฟังเรื่องราวต่างๆของเรา
- ภัยพิบัติจากลูกเห็บ (อพยพ 9:13-28) เรื่องนี้เป็นเรื่องที่แสดง “ทางเลือกสองทางในการใช้ชีวิต” จะเชื่อหรือไม่เชื่อฟังพระเจ้า ผู้ที่เชื่อฟังจะสามารถหลีกหนีจากภัยพิบัตินี้ ซึ่งก็มีคนอียิปต์ด้วยจำนวนหนึ่ง และอีกเหตุผลเรื่องนี้ไม่ได้ทำให้ผู้ฟังรู้สึกถูกบีบบังคับกดดันให้กลับใจมากนักเมื่อเทียบกับเรื่องราวของโนอาห์
ในส่วนข้อที่ 13-16 เป็นประโยคข้อความที่ได้พูดขึ้นซ้ำมาแล้วหลายครั้ง แต่ก็ยังมีลายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่ยากต่อการทำความเข้าใจ
ถ้าผู้ฟังรู้สึกว่ามันยากในการเรียนทำความเข้าใจข้อที่ 13-16 คุณสามารถสรุปให้เขาฟังโดยนำตอนนี้เข้าไปอยู่ในส่วนของบทเกริ่นนำของเรื่องด้วยเลย ดังนี้แล้วเราก็จะสามารถเริ่มเรื่องได้ตั้งแต่ข้อที่16หรือ17 ไปจนถึงข้อที่ 28 ต่อไป
- เทศกาลปัสกา (12:29-33) เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนท้องถิ่นที่นี้สามารถจำได้ชัดเพราะว่ามีความคล้ายและสอดคล้องกับประเพณีของเขาคนจีนกับการติดป้ายคำอวยพรสีแดงไว้หน้าประตูบ้าน ที่สำคัญ พระคัมภีร์ถือว่าเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องราวการช่วยกู้ที่เกิดในสมัยพระคัมภีร์เดิม และเรื่องนี้มีการแสดงถึงความเชื่อมโยงหลายๆด้านว่าการตายของพระเยซูคริสต์เปรียบเหมือนแกะที่ถูกฆ่าในพิธีนี้
ผู้เขียนและทีมจะใช้วิธีนี้ และจะกลับมาดูว่าผลที่ได้เป็นอย่างไร เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นสามารถเข้าไปดูวีดีโอตัวอย่างการเล่าได้ที่หน้าชุดเรื่องเล่าภาพรวมพระคัมภีร์ มีบางคลิปที่ได้ถูกปรับปรุงให้สั้นลงจากตอนแรกด้วยแล้วนะค่ะ