ประโยชน์ของการไม่ตอบคำถามของผู้เรียน

ผู้เขียนได้เรียนรู้อะไรมากมายจากการไม่ตอบคำถามของผู้เรียน โดยการยอมให้ผู้อื่นถามคำถามที่เขาสงสัยแล้วตอบสนองเขาด้วยประโยคนี้ “สุดท้ายพระคัมภีร์จะช่วยตอบปัญหาคำถามนี้ของคุณ ให้อ่านบทนั้นต่อไป” หรือพูดไปว่า “ในตอนหลังเรื่องนี้จะตอบคำถามนั้นเองค่ะ”

เวลาที่เราไม่ตอบคำถามของคนอื่น เราจะพบว่าคำถามๆนั้นจะติดอยู่ในความคิดของคนๆนั้น และเขาก็จะมีโอกาสคิดไตร่ตองพิจารณาคำถามนั้นด้วยตัวเขาเอง เมื่อเราตอบ “คำถามที่เกี่ยวกับเรื่องราว” เมื่อนั้นเรายังสามารถสร้างคำถามขึ้นมาอีกหลายๆคำถาม ซึ่งอาจมากถึง 20 คำถาม( ดูโพสต์ การนำการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวที่ได้เรียนรู้ สำหรับรายละเอียดที่มากขึ้น) บางคำถามอาจจะเป็นคำถามที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ ซึ่งนั้นก็ไม่ใช่เรื่องแย่ ตัวอย่างเช่น การรักษาชายตาบอดที่ชื่อบารทิเมอัส (มาระโก 10:46-52) ทำไมเขาถึงเรียกพระเยซูว่าบุตรดาวิด? แล้วก่อนหน้านี้เขาได้ยินเรื่องราวของพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร ? ทำไมเขาถึงเรียกพระเยซูด้วยชื่อนี้นะ? เราอาจจะสามารถตอบคำถามนี้ได้บางคำถาม แต่ตามพระคัมภีร์แล้วไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจน จึงทำให้มีแต่คำตอบที่น่าจะเป็นไปได้เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม การคิดไต่ตรองถึงเรื่องราว ทำให้เรามีมุมมองในการทำงานอันอัศจรรย์ของพระเจ้าต่อผู้คนที่มากขึ้น และทำให้เรารู้ว่าพระเจ้าทรงทำงานในชีวิตของผู้คนมากกว่าที่เขาจะรู้ได้ ดังนั้นสิ่งนี้จึงเตือนให้เราที่จะอธิษฐานเผื่อคนรอบข้างของเราอยู่เสมอ เพื่อขอให้พระเจ้าทรงทำงานในชีวิตของเพื่อนเราให้เหมือนอย่างชีวิตของบารทิเมอัส

เมื่อเกิดคำถามที่ตามมาอีก 20 คำถาม คุณจะพบว่าจะมีหนึ่งหรือสองคำถามที่จะเข้าไปอยู่ในใจของเรา โดยปกติเราจะพิจารณาถึงคำถามที่เราสนใจเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ซึ่งเราจะเห็นผลลัพธ์ของการพิจาณาคำถามได้จากการเติบโตทางความคิดของเราเอง

ครั้งหนึ่งในค่ายการเล่าเรื่องสุดสัปดาห์ ที่จัดที่บลูเมาเท่นประเทศออสเตรเลีย ในค่ายเราเรียนเรื่องการทรงสร้าง ผู้เขียนถามผู้ร่วมค่ายว่า “มีความสำคัญอะไรไหม ที่ในเรื่องการทรงสร้างมีคำว่า ‘มีเวลาเย็นและเวลาเช้า..’ บันทึกเอาไว้อย่างนั้น แทนที่จะใช้คำว่า มีเวลาเช้าและเวลาเย็น ซึ่งดูเป็นเข้าท่าสำหรับเรามากกว่า” และในวันถัดมีผู้ร่วมค่าย เป็นชายสูงอายุวัย 60 ปีคนหนึ่งเดินมาพูดคุยกับผู้เขียน“ผมคิดอะไรได้บ้างอย่างครับ ปกติคนเรามักจะมองสิ่งต่างๆ จากมุมมองของตัวเราเอง แต่ชีวิตของคนเรานั้นอยู่เพื่อที่จะเรียนรู้ทุกสิ่งจากมุมมองของพระเจ้าครับ ในมุมมองของพระเจ้าความมืดนั้นดำรงอยู่ก่อน หลังจากนั้นพระเจ้าจึงทรงสร้างความสว่าง แล้วความสว่างก็เกิดขึ้น ชีวิตและความหวังจึงเกิดขึ้นหลังจากที่มีความมืด ดังนั้นนี้จึงเป็นเหตุผลที่ปฐมกาลควรเรียงลำดับเวลาเช่นนั้นครับ”

ให้เราผ่อนคลายและคลายความกังวลเพราะความจริงเราไม่จำเป็นต้องตอบคำถามของคนอื่นให้ได้ทุกๆข้อ

เพิ่มเติม:

  • ในสังคมยุโรปสมัยใหม่ มักจะชอบความท้าทายจากการหาคำตอบจากคำถามที่ยากๆ และเขามักจะไม่ค่อยชอบคนที่ดูเหมือนจะรู้ไปหมดทุกอย่าง
  • ถ้าคำถามเกี่ยวข้องกับศัพท์เฉพาะเช่น ธรรมศาลา,วันสะบาโต,หรือรับบี ให้เราบอกคำจำกัดความของคำ เมื่อมีการพูดถึงคำนั้นๆ “สถานที่นมัสการของชาวยิว,วันหยุดพัก,อาจารย์” หรือจะพูดอธิบายคำเหล่านี้ก่อนที่จะเริ่มบทเรียนก็เป็นสิ่งที่ดี

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *